วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

การต่อท่อประปา:ช่างเอก

การต่อท่อพลาสติก
1. ตัดท่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ขจัดรอยเยินบริเวณปลายท่อให้เรียบร้อย
2. ทำความสะอาดปลายท่อที่จะต่อ แล้วทดลองสวมดูเพื่อทดสอบความแน่น
3. ทาน้ำยาบริเวณผิวท่อด้านนอกและข้อต่อด้านใน ทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที
4. ประกอบท่อเข้ากับข้อต่อโดยดันให้สุด กดไว้ประมาณ 10 วินาที
5. ตรวจสอบบริเวณรอยต่อว่าแน่นหรือไม่ แล้วเช็ดน้ำยาส่วนเกินออก


การกำหนดความยาวของท่อประปา งานประปา

การกำหนดขนาดความยาวของท่อ การกำหนดขนาดความยาวของท่อที่นิยมมี 3 วิธี
1. กำหนดขนาดจากปลายท่อถึงปลายท่อ ไม่รวมข้อต่อ
2. กำหนดขนาดจากปลายท่อถึงเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่อ
3. กำหนดขนาดจากเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่อถึงเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่ออีกด้านหนึ่ง
หมายเหตุ
การตัดท่อเพื่อการประกอบนั้น จะตัดท่อให้มีความยาวตามขนาดที่กำหนดไม่ได้ จะต้องตัดให้สั้นกว่า โดยลบความยาวออกประมาณ ¼ นิ้ว เมื่อสวมข้อต่อแล้วจะได้ระยะตามที่ต้องการการเดินท่อน้ำเบื้องต้น การติดตั้งปั้มน้ำและถังเก็บน้ำ การบำบัดกากตะกอนหรือสลัดจ์ การบำบัดน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสีย การบำรุงรักษาปั้มน้ำ การบำรุงรักษาปั้มน้ำ การเลือกและออกแบบถังน้ำ ขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสีย  คุณภาพของช่างน้ำประปา เครื่องปั้มน้ำ เครื่องมืองานประปา ชนิดถังเก็บน้ำ ชนิดและขนาดของท่อประปา ตัวอย่างการพิจารณาเลือกซื้อปั๊มน้ำ ระบบน้ำประปา ระบบบ่อเกอะ หลักการออกแบบบ่อเกรอะ ระบบบำบัดน้ำเสีย วัสดุอุปกรณ์งานประปา วิธีต่อท่อประปา วิธีเลือกเครื่องปั้มน้ำ 


ข้อสังเกตการต่อท่อประปา

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการวางท่อน้ำและอุปกรณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้อง
1. ท่อน้ำที่ใช้ควรมีการประทับข้อความบนตัวท่อเป็นระยะๆ โดยบ่งบอกถึงยี่ห้อของท่อน้ำหรือบริษัทผู้ผลิต บอกชั้นของท่อว่าเป็น ชั้น 13.5 , 8.5 , หรือ 5 บอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ และควรมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ด้วย
2. ท่อน้ำควรอยู่ในสภาพใหม่ ไม่มีรอยแตกหรือชำรุดมาก่อน และสีต้องไม่หม่นหมองผิดเพี้ยนไปมาก อันเนื่องมาจาก การเก็บรักษา ในสภาพที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
3. ท่อน้ำที่ดีควรใช้ท่อสีฟ้า 13.5 ทั้งหมด ในขณะที่ท่อสำหรับระบายน้ำและสิ่งปฏิกูลตามจุดต่างๆภายในบ้าน โดยเฉพาะ
ท่อที่ต้อง เดินฝังอยู่ภายในเสา ผนังหรือพื้น ควรใช้ท่อสีฟ้าชั้น 8.5 เป็นอย่างน้อยเพื่อความทนทานในการใช้งาน
4. ในการเดินท่อแบบฝังภายในผนัง จุดปลายของท่อที่ยื่นออกจากผนังสำหรับติดตั้งวาล์วหรือก๊อกน้ำจะมีการติดตั้งข้อต่อ
ชนิดเกลียว ในไว้สำหรับสวมกับวาล์วหรือก๊อกน้ำในภายหลัง ข้อต่อดังกล่าวควรจะเป็นข้อต่อชนิดที่ทำด้วยเหล็กไม่ควรใช้ข้อต่อพลาสติก
เพื่อป้องกันการแตกชำรุดที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังหากต้องมีการเปลี่ยนหัวก๊อก เพราะจุดนี้จะทำการซ่อมแซมได้ลำบาก
5. สำหรับบ้านที่ใช้อ่างอาบน้ำโดยไม่มีการติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนและมีการเดินท่อน้ำแบบฝังอยู่ภายในผนัง ท่อน้ำร้อนที่ฝัง อยู่ภายในผนัง ที่เชื่อมระหว่างตัวเครื่องทำน้ำร้อนที่อยู่ด้านบนกับวาล์วควบคุมการเปิดและปิดน้ำร้อนที่อยู่ด้านล่างตรงอ่างอาบน้ำควรใช้
ท่อเหล็กแทนการใช้ท่อพีวีซี เพื่อป้องกันการชำรุดของท่อที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความร้อนของน้ำ
6. ในการเดินท่อน้ำแบบฝัง ก่อนที่จะทำการเทพื้นหรือฉาบผนังทับตรงจุดที่มีการเดินท่อควรมีการทดสอบการไหลของน้ำ
และตรวจตรา อย่างถี่ถ้วนว่าท่อน้ำที่เดินไว้ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำประปาหรือท่อระบายน้ำทิ้งอยู่ในสภาพที่เรียบร้อยไม่มีการรั่วซึม เพราะถ้า
หากเทปูนหรือฉาบปูนทับไปแล้วท่อน้ำเกิดการรั่วซึมขึ้นมาในภายหลังจะแก้ไขได้ยากการเดินท่อน้ำเบื้องต้น การติดตั้งปั้มน้ำและถังเก็บน้ำ การบำบัดกากตะกอนหรือสลัดจ์ การบำบัดน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสีย การบำรุงรักษาปั้มน้ำ การบำรุงรักษาปั้มน้ำ การเลือกและออกแบบถังน้ำ ขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสีย  คุณภาพของช่างน้ำประปา เครื่องปั้มน้ำ เครื่องมืองานประปา ชนิดถังเก็บน้ำ ชนิดและขนาดของท่อประปา ตัวอย่างการพิจารณาเลือกซื้อปั๊มน้ำ ระบบน้ำประปา ระบบบ่อเกอะ หลักการออกแบบบ่อเกรอะ ระบบบำบัดน้ำเสีย วัสดุอุปกรณ์งานประปา วิธีต่อท่อประปา วิธีเลือกเครื่องปั้มน้ำ 

วิธีต่อท่อประปาแบบพลาสติก

การต่อท่อพลาสติก
1. ตัดท่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ขจัดรอยเยินบริเวณปลายท่อให้เรียบร้อย
2. ทำความสะอาดปลายท่อที่จะต่อ แล้วทดลองสวมดูเพื่อทดสอบความแน่น
3. ทาน้ำยาบริเวณผิวท่อด้านนอกและข้อต่อด้านใน ทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที
4. ประกอบท่อเข้ากับข้อต่อโดยดันให้สุด กดไว้ประมาณ 10 วินาที
5. ตรวจสอบบริเวณรอยต่อว่าแน่นหรือไม่ แล้วเช็ดน้ำยาส่วนเกินออก

วิธีต่อท่อประปาแบบท่อโลหะ

การต่อท่อโลหะ
1. จับท่อด้วยปากกาหรือประแจจับท่อให้แน่น ให้ปลายท่อยื่นออกมาเล็กน้อย
2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเกลียว
3. ใช้เทปพันเกลียวพันประมาณ 4 – 5 รอบ
4. หมุนข้อต่อเข้ากับท่อด้วยมือจนตึงก่อน ระวังอย่าให้ปีนเกลียว
5. ใช้ประแจจับท่อจับบริเวณข้อต่อ แล้วหมุนประมาณ 1 – 2 รอบให้ตึงพอดี ๆ

หลักการต่อท่อประปา

หลักการต่อท่อ
1. สำรวจเส้นทางเดินท่อและบันทึกไว้อย่างละเอียด
2. พยายามใช้ท่อให้สั้นที่สุด และสะดวกในการใช้งานมากที่สุด
3. หลีกเลี่ยงการใช้ข้องอและสามทาง เนื่องจากทำให้แรงดันน้ำลดลง
4. การขันเกลียวข้อต่อต่าง ๆ ไม่ควรขันแน่นเกินควร
5. การต่อท่อ P.V.C ควรเช็ดทำความสะอาด ก่อนทาน้ำยาประสาน
6. ควรเลือกใช้ท่อให้เหมาะสมกับสภาพบริเวณ เช่น บริเวณที่เปียกชื้น ควรเดิน ท่อฝังดิน และควรใช้ท่อ P.V.C
7. หากท่อเมนประปาอยู่ไกล ควรใช้ท่อลดขนาด เช่น ท่อเมนย่อยขนาด 1 นิ้ว ท่อใช้งานภายในบ้านควรมีขนาด ½ นิ้ว เป็นต้

วิธีการตรวจสอบประปา งานประปา

วิธีการตรวจสอบระบบประปา
ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในบ้าน โดยปิดก็อกที่มีอยู่ ทั้งหมดแล้วสังเกตที่มาตรวัดน้ำ ถ้าตัวเลขเคลื่อน แสดงว่า มีการรั่วไหลเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการรั่วซึม หรือมีอุปกรณ์บางอย่างแตกหักหรือชำรุด ก็จัดการหาช่างมาแก้ไขให้เรียบ ร้อย นอกจากภายในบ้านแล้ว ยังสามารถตรวจสอบการรั่ว ไหลของน้ำในเส้นท่อที่อยู่นอกบ้าน โดยสังเกตพื้นดินบริเวณ ท่อแตกรั่วนั้น จะมีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา และบริเวณนั้นจะ ทรุดตัวต่ำกว่าที่อื่น นั่นคือสาเหตุที่ทำให้น้ำประปาไหลอ่อน ลง ก็ควรแจ้งไปยังสำนักงานประปาในเขตนั้น
การวางระบบท่อน้ำในที่นี้จะกล่าวถึงการวางท่อน้ำประปา หรือท่อน้ำดีเพื่อนำไปใช้ตามส่วนต่างๆ ของบ้านและการวางท่อน้ำ
ทิ้งจากจุดต่างๆ ของบ้านลงสู่ท่อระบายน้ำ โดยจะเน้นการวางท่อแบบฝัง เพราะเป็นระบบที่นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับอาคารบ้านเรือนใน
ปัจจุบัน และเป็นระบบที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้โดยง่ายหากทำไว้ไม่ดีตั้งแต่แรก
ในช่วงก่อนท่อน้ำที่ใช้กันโดยทั่วไปตามบ้านจะเป็นท่อเหล็กอาบสังกะสีซึ่งมีความแข็งแรงไม่แตกหักง่าย แต่เมื่อใช้ไปนานๆ จะ
มีปัญหาเรื่องสนิม จึงเกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้น้ำเพื่อการบริโภคจากท่อชนิดนี้ ต่อมามีการนำท่อน้ำที่ทำจากพลาสติกโพลีไวนิล
คลอไรด์ (PVC) หรือที่เรียกว่าท่อพีวีซีมาใช้แทนท่อเหล็กซึ่งก็มีผู้นำมาใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและไม่เป็นสนิม ต่อมา
วิวัฒนาการทางด้านพลาสติกมีความก้าวหน้าขึ้นมาก ท่อพีวีซีที่ผลิตขึ้นมีความแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม ราคาไม่แพง
และยังทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีต่างๆ ได้หลายชนิด จึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามท่อน้ำที่ทำจากเหล็กก็
ยังคงใช้กันอยู่ในบางจุดที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ เช่น จุดที่ต้องรับน้ำหนักหรือแรงกระแทก จุดที่ต้องรับความดันสูง หรือจุด
ที่ต้องทนต่ออุณหภูมิสูงๆ เป็นต้น